top of page
HOME
Armenia.jpg

23 APRIL 2019, 16:00

Armenian

Change

Program

  • Alexander Arutunian: Trumpet Concerto

  • Golkhozi Choban (jazz arrangement)

  • Alexander Arutunian: Concert Scherzo

Concept

แนวคิดของงานนี้คือการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของ “ดนตรีอาร์มีเนียน” ซึ่งผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทเพลง
คอนแชร์โตของอารูตูเนียน ซึ่งเพลงนี้ได้รับแนวคิดในการประพันธ์มาจากบทเพลงพื้นบ้านของอาร์มีเนียน ทำให้ในบทเพลงนี้มีบันไดเสียงที่แปลกใหม่สำหรับดนตรีคลาสสิก ผมจึงอยากนำเอาแนวคิดของดนตรีอาร์มีเนียนมานำแสนอในอีกรูปแบบผ่านดนตรีแจ๊ส โดยการนำเอาจังหวะ บันไดเสียงของดนตรีอาร์มีเนียนมาสอดแทรกเข้าไป

Concept

Alexander Arutunian (1920-2012)

 

เกิดที่ประเทศอาร์เมเนียในปี ค.ศ. 1920 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2012 อารูตูเนียนเป็นนักเปียโนและนักประพันธ์เพลง เข้าศึกษาดนตรีที่ Komitas Conservatory ในปี ค.ศ.1941 เขาได้เข้ากลุ่ม Union of Composers ของรัสเซียในปี ค.ศ. 1939 และได้เป็นผู้อำนวยการของวง Armenian Philharmonic เป็นเวลาถึง 36 ปี นอกจากนั้นอารูตูเนียนได้สอนการประพันธ์อยู่ที่ Yerevan Conservatory ตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 เป็นต้นมา


บทเพลงทรัมเป็ตคอนแชร์โต้ของเขาได้กลายเป็นอีกหนึ่งบทเพลงที่สำคัญของทรัมเป็ต เนื่องจากตัวของบทเพลงมีความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้าน และมีส่วนของจังหวะที่ยืดหยุ่น บทเพลงชิ้นนี้ถูกประพันธ์ขึ้นสำหรับ Zolak Vartisarian (นักทรัมเป็ตชาวอาร์เมเนีย) แต่เขาได้เสียชีวิตจากสงครามเสียก่อนจึงทำให้  Timofei Dokschitzer (นักทรัมเป็ตชาวรัสเซีย) กลายมาเป็นนักดนตรีที่บรรเลงเพลงนี้แทนในการเปิดตัวของบทเพลง


ดนตรีของเขามีเอกลักษณ์ของความเป็นชาวอาร์เมเนียที่เข้มแข็งเช่นเดียวกับบทเพลงของ Aram Khachaturian นักประพันธ์เพลงชาวอาร์เมเนียอีกคน ที่มีการรวมองค์ประกอบของดนตรียุคคลาสสิกและโรแมนติกเข้าด้วยกัน โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านอาร์เมเนียที่ถ่ายทอดผ่านเสียงดนตรี 

Alexander arutunian: trumpet concerto

Arutunian: Trumpet Concerto
Golkhozi Choban (jazz arrangement) ​

Golkhozi choban (jazz arrangement)

บทเพลงนี้ผมได้แรงบันดาลใจจากคีตกวีอารูตูเนียน ซึ่งเขาได้นำเอาดนตรีพื้นบ้านของ
อาร์มีเนียนมาผสมผสานสอดแทรกเข้าไปในดนตรีดนตรีคลาสสิก ผมจึงนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ โดยนำดนตรีแจ๊สมาผสมผสานเข้ากับบทเพลงร่วมสมัยของอาร์มีเนียน โดยผมเลือกใช้เพลง “Golkhozi Choban” ซึ่งมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงอาร์มีเนียน โดยผมอยากนำเสนอบทเพลงนี้ผ่านดนตรีแจ๊ส ด้วยการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ ของดนตรีอาร์มีเนียนมาประยุกต์ใช้ในบทเพลงและยังนำมาใช้ในการด้นสดอีกด้วย 

Alexander arutunian: concert scherzo

บทเพลง Concert Scherzo เป็นอีกบทประพันธ์หนึ่งของอารูตูเนียนที่ถูกประพันธ์ขึ้นมาสำหรับทรัมเป็ตในปี ค.ศ.1955 มีโครงสร้างแบบสามตอน ABA และอยู่ในลักษณะดนตรีแบบ Scherzo

ท่อนแรก จะนำเสนอแนวคิดหลักของบทเพลง ซึ่งอยู่ในจังหวะที่เร็วและมีการใช้ลักษณะจังหวะขัด (Syncopation)

ท่อนสอง นำเสนอทำนองใหม่และใช้การซ้ำทำนองในการประพันธ์

ท่อนสาม แนวทำนองหลักจากท่อนแรกถูกนำกลับมาบรรเลงอีกครั้ง โดยในตอนสุดท้ายของเพลงมีการย้ำท่วงทำนองหลักเพื่อสร้างความหนักแน่นในตอนจบของบทเพลง

Alexander Arutunian: Concert Scherzo

Welcome to

My Special

My Performer
Teeranai Jirasirikul (Piano)

Pittyut Somtip (Guitar)

Prathinya Monaikul (Bass)

Raruekchon piyachotsakulchai (Drum)

Pimlapa Suktalordcheep (Piano)

My Thank

-ขอบคุณครอบครัว ที่คอยสนับสนุนทางดนตรีให้ลูกชายคนนี้ ผมจะทำให้เต็มที่

-ขอบคุณญาติพี่น้องทุกๆคน ที่คอยช่วยกันเลี้ยงดูเด็กน้อยๆคนนี้

-ขอบคุณ PGVIM’03 ที่อยู่ด้วยกันนะเสมอมา

-ขอบคุณๆชาวกัลยาทุกๆคน เจอบ้างไม่เจอบ้างแต่ก็รักทุกคนครับ

-ขอบคุณแก๊งอ๋อยด้วยนะ รู้กัน

-ขอบคุณอาจารย์โค้ก ที่ค่อยดูเรื่องรีไซทอลให้ครับ

-ขอบคุณอาจารย์เจต ที่คอยอดทนสอนผมนะครับ

-ขอบคุณ PRC BAND ที่ทำให้ผมเป็นผมในวันนี้

-ขอบคุณเพื่อนๆ PRC ทุกๆคนนะ นานๆเจอกันทีแต่รักเสมอนะ

-ขอบคุณพี่เพรชครับ คนนี้ต้องขอบคุณจริงๆครับ

-ขอบคุณจอยด้วยนะ ที่อยู่ด้วยกัน

-ขอบคุณทีมงานทุกๆคนที่ช่วยงานเน้อ ขอบคุณมากๆ

 

สุดท้ายนี้ ขอบคุณทุกคนที่มาให้กำลังใจนะครับ ผมจะทำโชว์ออกมาให้ดีที่สุด ถ้าเกิดผมทำผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

My Special

BIOGRAPHY

ผมนาย จักริน แก้วเวียงจันทร์ เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่

 

ศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยตั้งแต่ชั้นอนุบาลสาม และได้รู้จักดนตรีจากการเข้าร่วมวงโยธวาทิตของโรงเรียนตั้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 ในตำแหน่งนักทรัมเป็ต และมีโอกาสได้ไปแสดงดนตรีร่วมกับวงโยธวาทิตของโรงเรียนที่ประเทศสิงค์โปร์ ณ St Andrew's Cathedral School อีกทั้งได้ถูกเชิญไปแสดงอีกถึงสอง ครั้ง ในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถสอบคัดเลือกเข้าร่วมเล่นในวง The Chiangmai Youth Philharmonic Band and Symphony Orchestra (CPO) มีโอกาสได้ร่วมแสดงในหลายคอนเสิร์ต

 

ต่อมาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ศึกษาในหลักสูตรศิลป์ดนตรี ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนปรินส์ฯ กับมหาลัยพายัพเชียงใหม่ ทำให้ได้ศึกษาวิชาดนตรีมากขึ้น ทั้งได้เรียนรู้วิชาทฤษฏีดนตรี ประวัติศาสตร์ดนตรี และยังได้เรียนรู้วิธีการเล่นเครื่องดนตรีอื่นอีกด้วยเช่น เปียโน ไวโอลิน และดนตรีไทย นอกจากนั้นยังได้ร่วมแสดงดนตรีกับวง Duriyasilp Jazz Bigband ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน Thailand International Jazz Conference (TIJC) ในปี ค.ศ. 2015 

 

ในปัจจุบันศึกษาดนตรีต่อในระดับชั้นปริญญาตรี ที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เอกทรัมเป็ต ได้เรียนวิชาเครื่องมือเอกกับ อาจารย์สมเจต ภูแก้ว 

BIOGRAPHY
bottom of page